
SARS?
เราจะรู้ได้อย่างไรว่า ใช่โรคซาร์สหรือไม่ แล้วเรามีวิธีการตรวจสอบและเฝ้าระวังได้อย่างไรบ้าง?
สังเกตุเฝ้าระวังตัวเองและคนรอบข้าง 4 อาการดังนี้ (โดยเฉพาะผู้เดินทางมาจากเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ภายใน 14 วัน)- มีไข้
- เจ็บคอ
- มีน้ำมูก
- หายใจเหนื่อยหอบ
ทบทวนข้อมูลโรคซาร์ส (SARS)
เมื่อปี 2546 การแพร่ระบาดของโรคซาร์ส หรือโรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันร้ายแรง ที่เกิดจากเชื้อไวรัสในตระกูลโคโรนาไวรัส(Coronaviruses) และเชื่อว่ามีต้นตอจากมณฑลกวางตุ้ง ทางภาคใต้ของจีน ได้ทำให้มีผู้ติดเชื้อโรคนี้กว่า 8,000 คนทั่วโลก (ข้อมูลจาก WHO) และคร่าชีวิตผู้คน 349 คนในจีนแผ่นดินใหญ่จีน และ 299 คนในฮ่องกง
ซาร์ส หรือ SARS* ย่อมาจาก Severe acute respiratory distress syndrome โรคติดต่อร้ายแรงที่เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดใหม่ (SARS-CoV) โดยผู้ที่ติดเชื้อจะมีอาการทางระบบหายใจ ซึ่งอาจรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้สูง สามารถติดต่อกันได้ง่าย พบได้ในคนทุกวัย และมักมีความรุนแรงในผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 40 ปี หรือผู้มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ
จากสถิติผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตจากโรคซาร์สทั่วโลก โดยเฉลี่ยแล้วผู้ป่วยโรคซาร์สจะมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 9.6% (ประมาณ 1 ใน 10 คน)
การแพร่เชื้อ จากลักษณะการติดต่อของโรคที่พบการแพร่กระจายเฉพาะในหมู่คนที่อยู่สัมผัสกันอย่างใกล้ชิด (โดยเฉพาะคนดูแลผู้ป่วย), ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ กอด จูบ สัมผัสเนื้อตัว หรือกินอาหารร่วมกับผู้ป่วย, ผู้ที่อยู่ร่วมกับผู้ป่วยในห้องแคบ ๆ (เช่น ในลิฟต์), แพทย์หรือพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยโรคซาร์ส โดยเชื้อไวรัสซาร์สสามารถมีชีวิตอยู่บนสิ่งปนเปื้อนได้นานถึง 3 ชั่วโมง
ระยะเวลาการแพร่เชื้อ ผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้ตั้งแต่ที่เริ่มมีอาการเป็นไข้ในวันแรก และในวันที่ 4 หลังเป็นไข้จะแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้มากยิ่งขึ้น ระยะฟักตัวของโรค (ตั้งแต่รับเชื้อเข้าสู่ร่างกายจนกระทั่งแสดงอาการ) ประมาณ 2-10 วัน โดยเฉลี่ยคือ 4-6 วัน (แต่ในบางรายอาจนานเป็น 10-14 วัน)
สิ่งสำคัญคือ การวินิจฉัยโรคซาร์สให้ได้อย่างรวดเร็วและแยกผู้ป่วยออกเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น
การยืนยันการวินิจฉัยโรคโดยการตรวจทางห้องปฏิบัติการว่าติดเชื้อไวรัสซาร์หรือไม่ ซึ่งมีอยู่หลายวิธี คือ
-
การตรวจเลือดหาแอนติบอดี (Antibody) ต่อเชื้อไวรัสโรคซาร์ส 2 ครั้งที่ห่างกันมากกว่า 21 วันขึ้นไป
-
การตรวจเลือดหรือสารคัดหลั่งหาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสด้วยวิธีที่เรียกว่า PCR (Polymerase chain reaction) ใช้เวลาน้อยที่สุดและแม่นยำที่สุด
-
การเพาะเชื้อไวรัสจากเลือดหรือสารคัดหลั่ง ใช้เวลาค่อนข้างนาน
หลักการรักษาโรคซาร์ส คือการแยกตัวผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคซาร์ส หรือผู้ที่มีเกณฑ์เข้าข่ายสงสัย (Suspect case) หรือน่าจะ (Probable case) ป่วยเป็นโรคซาร์สและยังอยู่ในขั้นตอนของการพิสูจน์ยืนยันเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น
ในส่วนของวิธีการรักษานั้น ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาโรคนี้ได้โดยเฉพาะ และยังไม่มีคำแนะนำที่แน่นอนในการเลือกใช้ชนิดยาสำหรับการรักษาโรคซาร์ส เพราะยังไม่พบยาที่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการฆ่าเชื้อไวรัสซาร์สได้ การรักษาโรคซาร์สจึงเป็นเพียงการรักษาประคับประคองตามอาการ
เอกสารอ้างอิง :
หนังสือตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป 2. “ซาร์ส (SARS)”. (นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ). หน้า 1193-1196.
ศูนย์ข้อมูลโรคติดเชื้อและพาหะนำโรค. “รู้จักรับมือ SARS ไวรัสหวัดเขย่าโลก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : webdb.dmsc.moph.go.th. [30 พ.ค. 2017].
หาหมอดอทคอม. “ซาร์ส (SARS)”. (พญ.สลิล ศิริอุดมภาส). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : haamor.com. [01 มิ.ย. 2017].
มูลนิธิหมอชาวบ้าน. “โรคซาร์ส (SARS) : โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง : ปอดบวมมรณะ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.doctor.or.th. [02 มิ.ย. 2017].
Siamhealth. “ไข้หวัดมรณะ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.siamhealth.net. [03 มิ.ย. 2017].
https://www.thansettakij.com/content/world/418161?utm_source=komchadluek&utm_medium=relate_solr